มาดูกันว่าเราอ้วนอยู่ในระดับไหนแล้ว? การวัดเส้นรอบเอว และ การวัดค่า BMI

การตรวจสอบระดับความอ้วน

 ก่อนจะเริ่มลงมือลดความอ้วนนั้นเราควรรู้จักร่างกายของเราให้ดีเสียก่อน ว่ามีไขมันกี่เปอร์เซ็น ค่าดัชนีมวลกายเท่าไหร่ จะเอาออกหรือลดให้เหลือเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้มีเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้นซึ่งโดยปกติแล้ววิธีตรวจสอบที่นิยมใช้และสามารถตรวจสอบได้ง่ายมีอยู่ประมาณ 3 วิธี ดังนี้

  1. การวัดรอบเอว
  2. การวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI)
  3. การวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย

วิธีการตรวจสอบแต่ละวิธีมีการคำนวณอย่างไร และเปรียบเทียบอย่างไรว่าเราอยู่ในเกณฑ์อ้วนหรือไม่ เรามาดูกันเลย

การวัดรอบเอว

ก่อนจะทำการวัดรอบเอว เรามาฝึกวัดเส้นรอบเอวให้ถูกวิธีกันก่อน โดยมีวิธีการดังนี้
  1. อยู่ในท่ายืน เท้า 2 ข้าง ห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร
  2. หาตำแหน่งขอบบนสุดของกระดูกเชิงกรานและตำแหน่งชายโครงซี่สุดท้าย
  3. ใช้สายวัด วัดรอบเอวที่จุดกึ่งกลางระหว่างตำแหน่งกระดูกเชิงกรานและชายโครงซี่สุดท้าย
  4. วัดในช่วงหายใจออก โดยโดยให้สายวัดแนบกับลำตัว ไม่รัดแน่น
  5. ให้ระดับของสายวัดรอบเอวอยู่นในแนวขนานกับพื้น

ง่ายใช่ไหมล่ะ เมื่อเราวัดรอบเอวเสร็จแล้วก็ให้เปรียบเทียบกับตัวเลขนี้ได้เลย
  • ผู้ชายไม่ควรมีเส้นรอบเอวเกิน 36 นิ้ว หรือ 90 เซนติเมตร
  • ผู้หญิงไม่ควรมีเส้นรอบเอวเกิน 32 นิ้ว หรือ 80 เซนติเมตร
หากมีตัวเลขมากกว่าค่าดังกล่าวให้เตรียมลดน้ำหนักได้เลย เพราะเรากำลังอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงแล้ว 

อย่างไรก็ตาม การวัดแบบนี้ใช่ว่าจะชี้ชัดได้เสมอไปว่าเข้าข่ายอ้วนแล้วหรือไม่ เพราะเป็นการวัดอย่างหยาบๆ สำหรับคนที่ตัวใหญ่แต่ออกกำลังกายสม่ำเสมอก็อาจมีเส้นรอบเอวเกิน 36 นิ้วได้ ดังนั้นเราจะสอนวิธีการคำนวณดัชนีอีกประเภท นั่นก็คือ BMI

การวัดค่า BMI

BMI คือ Body Mass Index หรือความสมดุลของน้ำหนักต่อส่วนสูง เป็นดัชนีที่บ่งบอกว่าเราอยู่ในเกณฑ์อ้วนแล้วหรือยัง
  • สามารถคำนวณโดยใช้ น้ำหนัก(กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง(เซนติเมตร) ยกกำลังสอง  ได้ตัวเลขเท่าไหร่แล้วลองเอามาเปรียบเทียบตารางนี้ได้เลย (อ้างอิงจากมหาวิทยาลัยมหิดล)

หากมีค่ามากกว่า 25 แสดงว่าเราค่อนข้างเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนแล้วล่ะ แต่เช่นเดียวกับการวัดเส้นรอบเอว การวัด BMI แม้จะละเอียดกว่าการวัดเส้นรอบเอวแต่ยังคงเป็นวิธีที่ไม่ละเอียดมากนัก เพราะไม่สามารถบอกเปอร์เซ็นต์ไขมันซึ่งเป็นแหล่งของโรคต่างๆ ได้ เช่น นักเพาะกายอาจจะมีค่า BMI มากกว่า 30 ได้สบายๆ แม้จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงดีก็ตาม 

สำหรับการวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นจึงขอยกไปอธิบายในบทความถัดไปนะคะ

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ สำหรับการวัดเส้นรอบเอว และการวัดค่า BMI ใครที่วัดแล้วอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงต่อโรคอ้วน ก็ไม่ต้องกังวลนะคะ แค่เราเริ่มต้น ลงมือทำ แค่นี้ก็มีสุขภาพที่ดีได้

เครดิตภาพ : http://cdn.healthworks.my
เครดิตภาพ : http://women.todayza.net

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตรวจสอบไขมัน ก่อนลดพุง

เทคนิคลดน้ำหนัก 6ข้อ ที่ไม่เคยมีใครบอกคุณแน่นอน